ข้อมูลสินค้า ตัวเครื่อง
-ใช้ไฟฟ้า 220 VAC,50Hz
-กำลังไฟ 12 Watt
-อัตราการผลิต 400 มิลิกรัมต่อชั่วโมง
-ตั้งเวลาการทำงาน 1-60 นาที/cycle ,5-10-15-20-25-35-35-40-45-50-55-60 นาที
-มีปั้มลมในตัวเพื่อส่งโอโซนออกมา
-มีสายยางอ่อนเพื่อใส่เข้าไปในตู้แอร์รถยนต์หรือที่อับได้โดยตรง
คุณสมลักษณะ
-ใช้สำหรับอบฟอกอากาศ ดับกลิ่น หรือฆ่าเชื้อ
-ฟอกตู้แอร์ ฆ่าเชื้อในตู้แอร์รถยนต์
-ช่วยสลายกลิ่นอับในรถยนต์
-สลายกลิ่นบุหรี่
-สลายกลิ่นพรมที่อับชื้น
-ฟอกอากาศทั้งในรถ ในบ้าน นอกจากนี้ยังสามารถ
ใช้ล้างผัก ผลไม้ ล้างเครื่องมือ ล้างอุปกรณ์เด็ก ขวดนม เป็นต้น อบฆ่าเชื้อในเครื่องซักผ้า อบฆ่าเชื้อในตู้เย็น สลายกลิ่นเหม็นและฆ่าเชื้อในกรงสัตว์เลี้ยง สลายกลิ่นและฆ่าเชื้อราในรองเท้า การใช้งานขณะเครื่องทำงานผลิตโอโซนออกมา ไม่ควรอยู่ในห้องนั้นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบอื่นๆควรปล่อยให้เครื่องทำการฟอกอากาศหรือฆ่าเชื้อแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 15-30 นาทีก่อนเข้าห้องนั้นๆ
ขนาดการใช้งาน สำหรับเครื่องทำโอโซนขนาด 400 มิลลิกรัมต่อชั่วโมง
1.เพื่อกำจัดกลิ่นอับในรถยนต์ ตู้แอร์ ใช้เวลาประมาณ 10-30 นาที
2.เพื่อกำจัดกลิ่นในอากาศ ใช้เวลาประมาณ 10 -30 นาที
3.เพื่อกำจัดกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
4.เพื่อกำจัดกลิ่นอับในตู้เย็น ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
5.เพื่อล้างผัก ผลไม้ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
6.เพื่อทำน้ำบริสุทธิ์ สำหรับล้างหน้า ล้างมือ ล้างภาชนะ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
7.เพื่อทำน้ำบริสุทธิ์ สำหรับบ้วนปาก ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
8.เพื่อฆ่าเชื้อซักรีด ใช้เวลาประมาณ 20 นาที
9.เพื่อฆ่าเชื้อทำให้เนื้อสัตว์สด ไม่เน่าเสียง่าย ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
ข้อควรระวัง ไม่ควรสัมผัสกับโอโซนโดยตรงเป็นเวลานาน
ไม่ควรสูดดมโดยตรง
ห้ามใช้กับวัสดุที่เป็นโลหะ หรืออลูมิเนียม
ข้อมูลทางเทคนิคอื่นๆ
ปริมาณของโอโซนที่ใช้จะขึ้นอยู่กับขนาดของห้องและสภาพของกลิ่นดังนี้
ปริมาณโอโซน (mg/hr) = PPM x 2.144 x ปริมาตรห้อง (m3)
PPM = 0.1 สำหรับ ห้องสภาพอากาศทั่วไป
PPM = 0.2 สำหรับ ห้องที่มีกลิ่นอับเล็กน้อย
PPM = 0.3 สำหรับ ห้องที่มีกลิ่นอับปานกลาง มีการสูบบุหรี่บ้าง
PPM = 0.4 สำหรับ ห้องที่มีคนใช้บริการมาก กลิ่นบุหรี่มาก
PPM = 0.5 สำหรับ ห้องที่มีคนใช้บริการมาก กลิ่นบุหรี่รุนแรง
PPM = 1.0 สำหรับบำบัดกลิ่นห้องที่มีสารระเหย เช่นโรงพิมพ์ หรือกลิ่นขยะ
PPM = 2.5 สำหรับ รมห้องฆ่าเชื้อโรค
ข้อมูลทางวิชาการ (บทคัดย่อ)
วิธีการผลิตก๊าซโอโซนด้วยสนามไฟฟ้าแรงดันสูงความถี่สูง
Ozone Gas Generation Using High Voltage at
High Frequency Electric Field
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (แหล่งที่มา)
Faculty of Engineering, Ramkhamhaeng University
ในปัจจุบันมีการนำเอาก๊าซโอโซนมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตกันอย่างแพร่หลาย เช่น การนำเอาก๊าซโอโซนมาล้างผักแทนการใช้สารทับทิม เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรค และลดปริมาณคลอลีนในน้ำ การนำโอโซนมาฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ แต่ก๊าซโอโซนก็มีข้อเสีย เหมือนกัน ถ้าใช้ในปริมาณที่เข้มมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการระคายเคืองกับร่างกายได้ แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่พอดีและเหมาะสมกับงานที่นำเอาก๊าซโอโซนไปประยุกต์ใช้ในข้างต้นก็จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้ดี จึงเป็นที่มาในการศึกษาในการสร้างโอโซน และแนวทางที่จะควบคุมปริมาณโอโซนให้เหมาะสมกับงาน ในบทความนี้จะได้ทำการศึกษาผลของการเปลี่ยนความถี่ว่ามีผลต่อปริมาณโอโซนที่เกิดขึ้นหรือไม่ โดยใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงความถี่สูง
แบบสวิตชิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อจ่ายแรงดันสูงความถี่สูงไปให้กับโหลด คือ ชุดอิเล็กโตรดทำงานเพื่อให้เกิดโอโซน โดยที่โอโซนจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยหลักการแตกตัวของโมเลกุลของก๊าซอ๊อกซิเจน ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซโอโซนจากสมการคือ 2 3 O + 0 → O โดยก๊าซโอโซนจะมีความสามารถในการทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ค่าหนึ่ง และความร้อนก็มีผลต่อปริมาณโอโซนที่เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณแรงดันไฟฟ้า และความถี่ให้เหมาะสมในการผลิตโอโซน
ย่านพลังงานที่จำเป็นใช้ทางเคมีคือ 493 kJ/mol – 762.23 kJ/mol เมื่อทำการแปลงหน่วยจะได้ย่านพลังงานที่จำเป็นต้องใช้คือ 5.583 kWh / m3 – 8.631 kWh / m3 แต่เนื่องจากในอากาศมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 21% ดังนั้นย่านพลังงานที่จำเป็นต้องใช้คือ 1.17243 kWh / m3 –1.620 kWh / m3 จึงเพียงพอต่อการเกิดโอโซนในแกปของชุดอิเล็กโตรด
ขนาด 400 mg/hr